นักวิเคราะห์มอง ทางการจีนอาจไม่สนใจ “โครงการแลนด์บริดจ์” ของไทย-

หนึ่งในโครงการสำคัญของประเทศไทยคือ “โครงการแลนด์บริดจ์” (Land Bridge) หรือการเชื่อมทะเล 2 ฝั่ง ได้แก่ ทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ซึ่งเชื่อมต่อไปยังทะเลจีนใต้ เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ และทำให้ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งและการค้าที่สำคัญของเอเชีย

มีการประเมินว่า โครงการแลนด์บริดจ์จะช่วยลดความยุ่งยากของการขนส่งสินค้าระหว่างเอเชียตะวันออกกับตะวันออกกลางได้ เพราะแต่เดิมสินค้าและวัตถุดิบที่สำคัญหลายชนิด โดยเฉพาะน้ำมันดิบและแร่ธาตุ จะต้องขนส่งผ่าน “ช่องแคบมะละกา”

ต่างชาติสนใจ “โครงการแลนด์บริดจ์” เตรียมออกกฎหมายพิเศษเอื้อนักลงทุน คำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด 2024

โครงการเเลนด์บริดจ์ เปิดรับฟังความเห็นประชาชน ระนอง-ชุมพร ครั้งแรก

คืบหน้าโครงการ 'แลนด์บริดจ์” เชื่อมโยงการขนส่งอ่าวไทย-ทะเลอันดามัน

การที่ต้องเดินทางอ้อมไปผ่านช่องแคบมะละกาแล้วจึงจะวกไปจีนได้นั้น ถือเป็นการเปลืองทรัพยากรเชื้อเพลิงและเวลาอย่างมหาศาล ไทยจึงมีความหวังว่า โครงการแลนด์บริดจ์จะเป็นที่สนใจของจีน เพื่อช่วยลดความยุ่งยากในการค้าขาย

ที่ผ่านมา ตัวแทนของไทย โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม รวมถึงนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ได้พยายามชักชวนนักลงทุนให้มาร่วมลงทุนในประเทศไทย และเปิดเผยว่า มีหลายประเทศที่สนใจ โดยเฉพาะสหรัฐฯ

โดย นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน เคยหยิบยกเรื่องแลนด์บริดจ์ขึ้นมาพูดคุยขณะเข้าร่วมการประชุมหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รวมถึงในโรดโชว์ขณะเยือนเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 30 ที่ซานฟรานซิสโกเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

โดยนายกฯ เศรษฐาได้เขียนภาพประกอบง่าย ๆ ของเส้นทางโครงการแลนด์บริดจ์ที่วางแผนไว้ ตามที่เคยโพสต์ผ่าน X โดยมีลักษณะเป็นทางรถไฟที่จะเชื่อมทะเลทั้งสองด้านไว้

อย่างไรก็ตาม แม้จีนจะถูกมองว่าพึ่งพาน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางเป็นหลัก และต้องการลดความยุ่วยากในการขนส่ง แต่นักวิเคราะห์มองว่า จีนให้ความสนใจโครงการดังกล่าวของไทยน้อยมาก อย่างน้อยก็ในขณะนี้

หลู่ เซียง นักวิจัยอาวุโสจากสถาบันสังคมศาสตร์จีน ซึ่งเป็นองค์กรคลังสมองของรัฐบาลในปักกิ่ง กล่าวว่า “จีนไม่เชื่อเท่าไรนักถึงสิ่งที่สามารถคาดหวังได้จากโครงการนี้”

เขาอธิบายว่า แลนด์บริดจ์ไม่ใช่โครงการเชิงยุทธศาสตร์ที่มีชื่อเสียงขนาดที่จีนจะยอมใช้อิทธิพลของตัวเองมาช่วยสนับสนุนขนาดนั้น และเสริมว่า การขนถ่ายและการบรรจุสินค้าจะยังคงซ้ำซ้อนและซับซ้อน เพราะต้องขนจากเรือขึ้นรถไฟ และขนจากรถไฟลงเรืออีกรอบ และอาจไม่ช่วยลดต้นทุนได้มากนัก

หลู่ เซียง มองว่า หากไม่มีสิ่งทดแทนที่มีศักยภาพมากกว่านี้ ช่องแคบมะละกาก็มีแนวโน้มที่จะยังคงเป็นเส้นทางสำคัญในการนำน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางไปยังเอเชียตะวันออกและส่งสินค้าอุปโภคบริโภคจากจีนไปจะวันออกกลาง

หลู่ เซียง กล่าวว่า บริษัทจีนอาจทำการประเมินด้วยตนเองและสำรวจทางเลือกต่างๆ กับพันธมิตรชาวไทย “สำหรับตอนนี้จีนอาจจะยังสับสนอยู่ แต่ก็ไม่เป็นไรที่คนไทยจะเข้าไปมีส่วนร่วมในธุรกิจการค้าบางแห่งในจีน”

ด้าน จู เฟิง คณบดีสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหนานจิง กล่าวว่า อนาคตของโครงการนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของทางการไทย และการเปลี่ยนแปลงของพลวัตทางการเมือง

“ทางการจีนไม่น่าจะให้ทุนสนับสนุนโครงการนี้ แต่บริษัทจีนมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้รับเหมารายใหญ่หากโครงการนี้ได้เดินหน้าต่อ” เขากล่าว

จู เฟิง เสริมว่า โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางจะมุ่งเน้นไปที่การตัดสินใจทางธุรกิจอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากผลตอบแทนการลงทุนในอีก 10 ปีข้างหน้า และรัฐบาลจีนจะมีการลงทุนสร้างโครงการขนาดใหญ่ในต่างประเทศน้อยลง

โครงการแลนด์บริดจ์จะเชื่อมท่าเรือในจังหวัดชุมพรและระนอง มีมูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านบาท จะมีสะพานทางรถไฟและถนนระยะทางรวม 90 กม.

ไทยเคยรายงานว่า โครงการนี้สามารถสร้างงานในท้องถิ่นและกรุงเทพฯ ได้กว่า 280,000 ตำแหน่ง โดยหวังว่าจะเริ่มต้นโครงการได้ในปี 2025

นายสุริยา จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม เคยกล่าวว่า รัฐบาลไทยกำลังวางแผนที่จะจัดโรดโชว์เพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการขายและการระดมทุนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ปัจจุบันยังไม่ชัดเจนว่า โครงการนี้จะใช้โมเดลความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนหรือโมเดลสร้าง-ดำเนินการ-ส่งมอบ

กระบวนการประมูลสัญญาโครงการคาดว่าจะเริ่มระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนปีหน้า ตามการระบุของสภาการค้าและการพัฒนาฮ่องกง ในขณะที่การก่อสร้างปฏิบัติการระยะแรกคาดว่าจะเริ่มในปี 2030

หลุยส์ ชาน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยสภาการค้าและการพัฒนาฮ่องกง กล่าวว่า โครงการแลนด์บริดจ์ของประเทศไทยจะช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางได้ 4-5 วัน

อย่างไรก็ตาม การประเมินด้านสิ่งแวดล้อมและความเสียหายต่อธุรกิจการเกษตรที่มีอยู่อาจเป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้าง

ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นสมาชิกหลักของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง แต่ความคืบหน้าในโครงการต่าง ๆ เช่น รถไฟความเร็วสูงยังดำเนินไปอย่างช้า ๆ

นอกจากนี้ ทางการจีนยังไม่ได้แสดงความเห็นต่อสาธารณะเกี่ยวกับโครงการแลนด์บริดจ์ โดยไม่ได้อยู่ในรายชื่อโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่ออกโดยคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน ซึ่งเป็นทีมวางแผนเศรษฐกิจชั้นนำของประเทศจีน

อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่า หากทางรถไฟสามารถเชื่อมทะเลทั้งสองฝั่งได้ มันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไม่เพียงแต่จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งและเวลาเดินทางเท่านั้น แต่ยังปรับภูมิทัศน์เศรษฐกิจและการค้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใหม่ทั้งหมดอีกด้วย

เรียบเรียงจาก SCMP

ภาพจาก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร

ลอยกระทง 2566 วันไหน มีตำนานประวัติความเป็นมาอย่างไร?

สุดสลด! “วิวาห์เลือด” เจ้าบ่าวรัวยิงเจ้าสาว-แม่ยาย-ญาติ ตาย 5 สาหัส 1

“อามาเทราสุ” อนุภาคปริศนาตกลงมายังโลกจากพื้นที่ว่างเปล่าในอวกาศ

Back To Top